- โดย CLINIC MORPOON TCM
- เมื่อ 29 เม.ย 2565
- 862
ครอบแก้ว (Cupping Therapy)
ครอบแก้ว เป็นหนึ่งในวิธีการรักษาของแพทย์แผนจีน
การครอบแก้วคือการใช้สูญญากาศ ครอบไปยังบริเวณผิวหนัง จะทำให้เกิดการไหลเวียนของเลือดบริเวณนั้นอย่างมาก เป็นการปั๊มเลือดเข้าสู่กล้ามเนื้อบริเวณที่ทำการครอบเเก้ว ทำให้หลอดเลือดฝอยขยายตัวขึ้น นำมาสู่การที่เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจน กระบวนการซ่อมแซมจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้น และผลักดันให้เลือดไหลเวียนในหลอดเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลทำให้ผนังหลอดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายด้วยวิธีการนี้จะทำให้เลือดที่คลั่งบริเวณจุดที่ปวดเกิดการไหลเวียนดีขึ้น ส่งผลให้อาการปวดทุเลาลง
ประโยชน์ของการครอบแก้ว
- สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้เลือดและพลังมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น
- สามารถรักษาอาการปวด โดยเฉพาะบริเวณ บ่า หลัง และเอว ( รักษาร่วมกับการฝังเข็มจะได้ประสิทธิภาพที่มากขึ้น )
- สามารถช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง มีเลือดฝาด
โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว
1. โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ ภูมิแพ้อากาศ
2. โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง อาหารไม่ย่อยเนื่องจากกรดเกินในกระเพาะอาหาร
3. โรคระบบหมุนเวียนเลือด ความดันโลหิตสูง โรคโลหิตจาง
4. โรคทางกระดูกและข้อ เช่น ปวดกระดูกต้นคอ ข้อไหล่ปวดไหล่สะบัก ปวดข้อศอก ข้อต่อต่างๆปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ปวดสะโพก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
5. โรคระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน โรควิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า อัมพาตบนใบหน้า
ผู้ที่ไม่เหมาะรับการรักษาด้วยการครอบแก้ว
-ผู้ที่มีอาการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง
-ผู้ป่วยโรคติดต่อ โรคมะเร็ง
-ผู้ที่กำลังอยู่ในระยะการตั้งครรภ์
การดูแลหลังจากครอบแก้ว
- หลังจากการทำครอบแก้วแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีรอยคล้ำ แต่ไม่มีอันตราย รอยจะหายเองในเวลาประมาณ 5-7 วันและสามารถทำได้อีกเมื่อรอยจางหาย
-หลังจากทำการครอบแก้ว ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับความเย็น การอาบน้ำ เพราะความเย็นท้ำให้เลือดลมติดขัด อาจะทำให้มีอาการปวดมากขึ้นได้
ที่มา : https://www.rama.mahidol.ac.th/altern_med/th/cupping_km
บทความล่าสุด
ขั้นตอนเข้ารับการรักษา
2 ม.ค. 2566
สวัสดีปีใหม่ 2566
2 ม.ค. 2566
ออฟฟิศซินโดรม
22 ธ.ค. 2565
การรักษาความสมดุล
8 ธ.ค. 2565
ได้รับบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย
17 พ.ย. 2565